วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ขนมมาการอง

                           ขนมมาการอง__________________

ที่มา ▷▶


            มาการอง (Macaron) มีประวัติศาสตรยาวนานหลายร้อยปี และช่วง 5-6 ปีมานี้ ชาวปารีสและเหล่าฟู๊ดดี้ในประเทศโลกเจริญแล้ว ต่างคลั่งไคล้ใหลหลงคุกกี้ชิ้นเล็กๆ กลมๆ 2ชิ้น
ประกบกัน ตรงกลางมีไส้ หน้าตาเหมือนแฮมเบอร์เกอร์ รสหวาน สีสันสดใส และราคาสูงจนน่าตกใจ และวันนี้ร้านขนมในเมืองไทยหลายร้าน เริ่มผลิตมาการองออกวางขายกันไม่น้อย แม้ผู้บริโภคจะยังไม่ต่อคิวรอซื้อมากินกันเป็นล่ำเป็นสันก็ตาม
 เป็นขนมที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศส


           ในยุคข้าวยากหมากแพง ช่วง Frenchrevolutionที่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ช่วงนั้นมิชชันนารีชาวอิตาลี ที่อาศัยในฝรั่งเศสหาวิธีทำดำรงชีพจากAlmond น้ำตาล และไข่ขาว ซึ่งเป็นของราคาไม่แพง แต่มีคุณค่าทางอาหาร จึงริเริ่มนำสามอย่างนี้มาตีรวมกันและอบในเตาอบ ออกมาเป็นขนมรูปร่างคล้ายจานบิน ด้านนอกกรอบนิดๆ กัดเข้าไปด้านใน ทุกอณูนิ่มละลายในปากทันที ด้วยรสชาติที่หอมหวานลงตัว และวัตถุดิบที่หาง่ายในยุคนั้นราคาไม่แพงมาการองจึงได้รับความนิยมแพร่หลาย


            จนกระทั่งต่อมามีผู้นำมาการองสองอันมาประกบกันแล้วทำไส้อยู่ตรงกลางซึ่่งเป็นรูปแบขนมmacaronที่รับประทานมาจนทุกวันนี้มาการองยุคใหม่ ถูกปฏิวัติให้เจ๋งยิ่งขึ้นโดยพ่อมดของหวานชาวฝรั่งเศส Piere Herme' ซึ่งนำผลไม้จากทุกมุมโลกมาสร้างสรรค์มาการองรสชาติต่างๆ จนกระทั่งกลายเป็นขนมที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ปัจจุบันขนมชนิดนี้เป็นทั้งของหวานแสนอร่อย เป็นทั้งแฟชั่น ที่เชฟเทพๆทั้งหลายแข่งกันครีเอตหน้าตา และรสชาติออกมาอย่างสวยงาม




            เสน่ห์ของ “มาการอง  ไม่ได้อยู่ที่สีสันสดใสเท่านั้น แต่ว่ากันว่าลักษณะของมาการองที่ดีต้องเริ่มตั้งแต่รูปร่างคล้ายกับโดมแบน ๆ ที่มองดูจากด้านบนจะเป็นรูปวงกลม ผิวด้านบนของขนมเรียบมันจากความละเอียดของ เมล็ดอัลมอนด์บด ส่วนที่สำคัญ คือ ส่วนล่างของชิ้นขนมที่เรียกว่า  “Foot”  หรือบางคน  เรียกว่า  Skirt”  ซึ่งมัน คือ รอยหยักคล้ายลูกไม้ชายกระโปรงที่บางกรอบ ซึ่งกว่าจะทำได้เช่นนั้นก็ต้องมีวิธีการทำที่ยุ่งยากพอควร  และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ  กลิ่นอันหอมหวาน  เคล็ดลับอยู่ที่หลังจากนำ มาการองสองชิ้นมาประกบกันแล้ว ต้องเก็บไว้ในที่เย็นสักหนึ่งคืน เพื่อให้ไส้รสชาติต่าง ๆ ซึมซับเข้าสู่ชั้นของเนื้อขนม   นอกจากนี้ความชื้นจากไส้ครีมยังทำให้ มาการองมีความนุ่มหนึบเวลาเคี้ยวอีกด้วย  จะต้องมีรสชาติที่ผสานกันอย่างลงตัวระหว่างไส้ครีมกานาชกับเนื้อคุกกี้  ขนาดของส่วนสูงที่สมดุลของตัวคุกกี้ชิ้นบนและล่างที่ต้องเท่า ๆ กัน  รวมทั้งไส้ที่บีบให้พอดีขอบและมองเห็นเป็นแนวเส้นเล็ก ๆโดยรอบตลอดชิ้น
 .                                                     สำหรับในเมืองไทย  ในขณะที่กิจการร้านน้ำชา กาแฟ และ เบเกอรี่ กำลังบูมกันทั่วไปในทุกฟากฝั่งของถนน  ความนิยมในขนมหวานสัญชาติฝรั่งเศสนี้ก็มีเพิ่มพูนขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน  เพราะ มาการอง ( Macarons ) มีประวัติยาวนานหลายร้อยปีเหมือนเป็นขนมในตำนาน  ไม่เพียงแต่ชาวปารีสเท่านั้นแต่รวมไปถึงเหล่านักทำขนมอบทั้งหลายในหลายประเทศต่างคลั่งไคล้หลงใหลในการทำขนมชนิดนี้  คุกกี้ชิ้นเล็กๆ กลมๆ  สองชิ้นประกบกันตรงกลางมีไส้ลักษณะหน้าตาคล้ายอาหารฝรั่งที่ชื่อ แฮมเบอร์เกอร์  แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก  รสหวาน  สีสันสดใสในวันนี้  ร้านขนมเบเกอรี่ชั้นนำในเมืองไทยหลายแห่ง เริ่มหันทำขนมมาการองนี้ออกวางขายกัน  ถึงแม้ผู้บริโภคจะยังไม่ถึงกับต่อแถวรอซื้อ  แต่ผู้ที่ทำขนมนี้ได้อร่อยและงดงามน่ารับประทานเช่นเจ้าของต้นตำหรับดั้งเดิมสามารถที่จะยึดถือเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้แก่ตัวคุณเองได้

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ครีมเทียมทำมาจาก?

ช็อกทั่วโซเชียล หลังแชร์ว่อนคลิป เปิดความลับในครีมเทียม ที่แท้ครีมเทียมทำมาจากอะไรกันแน่ ผู้ที่ชอบส่วนผสมหอมมันชนิดนี้ดูกันไว้ให้ดี แล้วยังจะกล้าทานกันอีกไหม 

               หากจะพูดถึงครีมเทียม ผงสีขาว ๆ หรือของเหลวสีขาวข้นที่มีกลิ่นหอมเหมือนนม ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในเครื่องดื่มแก้วโปรดของใครหลายคน เชื่อว่าคนจำนวนมากคงเชื่ออย่างสนิทใจว่ามันเป็นส่วนผสมที่ถูกแปรรูปมาจากนม หรือมีนมเป็นส่วนประกอบหลักอย่างแน่นอน และนั่นจึงก่อให้เกิดกระแสช็อกผู้บริโภคในวงกว้าง เมื่อโลกออนไลน์ได้มีการแชร์ต่อคลิป เปิดความลับในครีมเทียม ที่ออกมาแฉหมดเปลือกถึงกระบวนการผลิตและส่วนผสมของครีมเทียมที่ถูกผลิตออกสู่ท้องตลาด เผยให้เราได้เห็นกันชัด ๆ ว่าแท้จริงแล้ว ครีมเทียมทำมาจากอะไร


1. เจลาติน สารปรุงแต่งอาหารที่สกัดจากกระดูกอ่อน เส้นเอ็น และหนังของสัตว์


2. ช็อทเทนนิ่ง ไขมันทรานส์ที่มักใช้ในการทอดอาหาร

3. อิมัลซิไฟเออร์ สารเคมีสังเคราะห์ 100% ที่ทำให้น้ำกับน้ำมันผสมกันได้

4. สีคาราเมล 

5. ไซรัป หรือน้ำเชื่อม

6. คาราจีแนน ช่วยป้องกันการตกตะกอนและทำให้ส่วนผสมต่าง ๆ เข้ากันได้ดี

7. โซเดียมเคซีเนต สารที่ใช้เลียนแบบกลิ่นและรสของนม

อาเซียนคือ?

หลายคนอาจจะยังมีข้อกังขาเกี่ยวคำเรียกที่ว่า "ASEAN" หรือในภาษาไทยอ่านว่า "อาเซียน" จริงๆ แล้วคำนี้มันมีความหมายว่าอะไร และมีความสำคัญอย่างไร เหตุใดเราถึงควรรู้จักกับเจ้าคำนี้เอาไว้ วันนี้ เราจะมาคลายข้อสงสัยเพื่อทำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับ "อาเซียน" มากขึ้น
อาเซียน⇨เกิดจากการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ อันได้แก่ มาเลเซีย, พม่า, กัมพูชา, ลาว, ไทย, สิงคโปร์, เวียดนาม, บรูไนดารุส-ซาลาม, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ่งรายนามประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิ้น โดยอาเซียน มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า "Association of Southeast Asian Nations" หรือ "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
อาเซียน ⇨เกิดจากการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ อันได้แก่ มาเลเซีย, พม่า, กัมพูชา, ลาว, ไทย, สิงคโปร์, เวียดนาม, บรูไนดารุส-ซาลาม, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียซึ่งรายนามประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิ้น โดยอาเซียน มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า "Association of Southeast Asian Nations" หรือ "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
                                                                              สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันเฉียงใต้⇨ถือกำเนิดขึ้นโดย "ปฏิญญากรุงเทพ" (Bangkok Declaration) หรือ "ปฏิญญาอาเซียน" (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีสมาชิกเริ่มแรกเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และไทย มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันเอง ภายหลังจึงได้มีอีก 5 ประเทศสมาชิกเข้าร่วมเพิ่มเติม จึงทำให้ "อาเซียน" มีสมาชิกเป็น 10 ประเทศดังเช่นในปัจจุบัน .   
                                                   

ในการจัดตั้งอาเซียน ภายในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ได้ระบุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเอาไว้ถึง 7 ข้อ อันได้แก่ ..

  1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร 
  2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค 
  3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค 
  4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี 
  5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
  7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

    ตราสัญลักษณ์อาเซียน

    "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือ "อาเซียน" ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปมัดรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นวงกลมสีแดง ล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน
  8. รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว
  9. วงกลม หมายถึง เอกภาพของอาเซียน
  10. ตัวอักษร "asean" สีน้ำเงินใต้ภาพรวงข้าว หมายถึง ความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน

    สีที่ใช้ในตราสัญลักษณ์อาเซียน

    ซึ่งนอกจากตราสัญลักษณ์ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจในความเป็นอาเซียนแล้ว สีที่ใช้ก็ยังมีส่วนที่ช่วยเสริมให้อาเซียนมีพลัง สามารถดำเนินไปได้ด้วยความอดทน และมีความเชื่อมั่นซึ่งกันและกันสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง 
    สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ 
    สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ 
    สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง